วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558



สรุป เรื่องแม่เหล็ก
( คู่กับ Kanyarat Sankot )

แม่เหล็ก

             จากการที่ได้ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับแม่เหล็ก  ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ทราบเกี่ยวกับแม่เหล็กดึงดูดเหล็ก  เหล็กกล้า  และความสนใจของเด็กเล็กๆ  แม้ว่าแรงดึงดูดของแม่เหล็กเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น  สัมผัสไม่ได้  แต่เราเห็นผลที่เกิดจากแรงดึงดูดนั้นได้  และยังได้กิจกรรมน่าสนใจที่จะสามารถนำไปประยุกต์การเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย  กิจกรรมที่ได้ศึกษาในเนื้อหาแม่เหล็กก็มีกิจกรรม 6 กิจกรรม  อาทิ
                 1.แม่เหล็กดึงดูดของเป็นบางอย่าง 
                 2.แม่เหล็กแต่ละชิ้นมีแรงดึงดูดต่างกัน 
                 3.แม่เหล็กส่งแรงดึงดุผ่านวัตถุบางอย่างได้ 
                 4.แม่เหล็กชิ้นหนึ่งสามารถสร้างแม่เหล็กชิ้นใหม่ได้
                5. แม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุดอยู่ที่ขั้วทั้งสอง 
                6.แต่ละขั้วของแม่เหล็กจะมีปฏิกิริยาที่ต่างกัน
  
              ทั้ง 6 กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นการทดลองเชิงทางวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานการเรียนรู้  เป็นสิ่งที่จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะเด็กจะเกิดข้อสงสัยว่าทำไม? แม่เหล็กจึงดึงดูด  แล้วทำไมแม่เหล็กถึงเคลื่อนที่ได้ทั้งๆที่มีสิ่งของวางกันอยู่  กิจกรรม  ทั้ง 6 กิจกรรมจะสามารถให้เด็กได้เรียนรู้ ได้ทดลอง  และได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้คำตอบและไขข้อสงสัย  และในการทดลองเรื่องแม่เหล็กทุกครั้ง  ครูจะต้องระวังอย่าให้เด็กทดลองใกล้สิ่งที่ใช้พลังงานแม่เหล็ก  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  แผ่นดิสก์  และชิ้นส่วนอื่นๆของคอมพิวเตอร์  เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ 

               การที่ใช้แม่เหล็กมาเป็นสื่อการเรียนการสอนสามารถเป็นกิจกรรมบูรณาการทางคณิตศาสตร์  ดนตรี กิจกรรมการเล่านิทานด้วยแม่เหล็ก (กิจกรรมนี้จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กๆอย่างมาก  เพราะการเล่านิทานจะมีการเคลื่อนที่ด้วยแม่เหล็ก)  กิจกรรมศิลปะ  กิจกรรมการเล่น  และสุดท้ายกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น