วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558



  สรุป  ความรู้จากโทรทัศน์ครู
           
เรื่อง "กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก"
โดย : ครูพงศกร  ไสยเพชร

           กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยของเล่นเเละการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์โดยของเล่นเเละการทดลองควรใช้ของที่หาได้ง่าย ๆ เพื่อให้เด็กมีโอกาสลงมือทำด้วยตนเอง โดยของเล่นที่ครูประดิษฐ์เป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ ดู มีดังนี้


ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องเเรงลอยตัว โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ


           โดยที่หลอดลอยตัวได้ เพราะ มีอากาศที่ถูกกักเก็บไว้ เเรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อบีบขวดความดันภายในขวดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง เเรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ หลอดจึงจมลง เมื่อคลายมือความดันในขวดจะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลงปริมาตรอากาศก็จะเพิ่มขึ้น เเรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศหลอดจึงลอยตัวขึ้น


ตัวอย่างที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศเเละความดันของอากาศ  

โดยประดิษฐ์สื่อของเล่น : เลี้ยงลูกด้วยลม
         
            โดยธรรมชาติของอากาศ ที่ใดอากาศไหลเร็ว ความดันอากาศเเถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบ ๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า (หลักการของเบอร์นูลลี) เมื่อเราเป่าลมได้ลูกบอล แรงลมจะผลักลูกบอลให้ลอยขึ้น ลมที่โคนด้านล่างของลูกบอลจะไหลไปด้านข้าง ๆ ขึ้นไปสู่ข้างบน ทำให้มีเเรงผลักอยู่รอบ ๆ บริเวณลูกบอลที่มีลมเป่าขึ้น

ตัวอย่างที่ 3 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์  


             ทดลองโดยการใช้ดินสอเเทงถุงน้ำพลาสติกค่อย ๆ เเทงดินสอเข้าไป เมื่อทะลุเข้าไปเเล้ว เนื้อพลาสติกที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายที่ขยายกว้างขึ้นจะรวบติดกับตัวดินสอทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกมาได้


ตัวอย่างที่ 4 ความดันยกของ 


             โดยครูใช้คำถามชวนให้เด็กคิดว่าเราจะสามารถยกสมุดรวมทั้งสิ่งของต่าง ๆ ได้อย่างไร จากนั้นครูจะช่วยเด็ก ๆ คิดให้ใกล้เคียงกับความจริงโดยวางถุงพลาสติกลงบนโต๊ะเเล้วสาธิตให้เด็กดูโดยใช้สมุดวางทับเเล้วเป่าลมเข้าไปในถุงพลาสติก เมื่อลมเข้าไปอยู่ในถุงพลาสติกแล้วสมุดจะค่อย ๆ ลอยตัวขึ้น หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลองทำด้วยตนเอง เเละลองสาธิตเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการเคลื่อนย้ายไปเรื่อย เช่น กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้


สรุปงานวิจัย


ชื่อวิจัย ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่งสำรวย   สุขชัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนกรายทักษะ

กลุ่มตัวอย่าง

         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน ในระหว่างการทดลองผู้ปกครองพาเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองลากลับภูมิลำเนา 3 คน กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยในการทดลองครั้งนี้ จึงมีเพียง 27 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

      1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย
      2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ ประกอบด้วย
           2.1 ทักษะการจำแนกประเภท
           2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
           2.3 ทักษะการลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

      1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลวิจัย

        ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 22 กันยายน 2558

Knowledge 




นำเสนองานวิจัย


นางสาววราภรณ์ แทนคำ  
เรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ชื่อผู้วิจัย : จุฑามาศ เรือนกำ 

         สร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์และเลือกหน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย ที่ใกล้ตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน คือ หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนดี ผลไม้น่าทาน ต้นไม้เพื่อนรัก ดอกไม้แสนสวยและวิทยาศาสตร์น่ารู้  และนำมาสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต จำแนกประเภท การวัดและการหามิติสัมพันธ์ 



นางสาวรัตนาภรณ์ คงกะพันธ์   
เรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


 ชื่อผู้วิจัย : เสกสรร มาตวังแสง 


          ในการวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นนทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง(Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยางและดําเนินการทดลองดวยตนเอง 
จํานวน 8 สัปดาหเมื่ออดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาหนําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลทที่ไดจากการทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทำสถิต

นางสาวยุภา ธรรมโครต 
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ
 ชื่อผู้วิจัย :ยุพาภรณ์ ชูสาย

           จะจัดกิจกรรมแบบเป็นการทดลองเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง เป้นการให้อิสระแก่เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งครูคอยแนะนำและช่วยเหลือให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลอง เรื่องสีจากธรรมชาติ จะสอนในเรื่อง การสังเกต การจำแนก และการหามิติสัมพันธ์


ของเล่นวิทยาศาสตร์
ชื่อ : เรือหนังยาง




อุปกรณ์




-สก็อตเทป -ไม้ตะเกียบ -หนังสติ๊ก-การ์ด-กล่องนม-กรรไกร-กะละมัง


ขั้นตอนการทำ



1.เอากล่องมาแล้วเอาไม้ตะเกียบติดเข้าไปทั้ง 2 ข้าง          


            
         2. เอาสก็อตเทปมาพันไว้ พันให้แน่



      3.เอาหนังสติ๊กใส่การ์ดแล้วเอาสก็อตเทปพันไว                  



                         
    4.ได้การ์ดดังรูป
               
                        
5. เอาการ์ดมาใส่ต่อกับตัวเรือ 


                                       

 6. เปิดน้ำใส่กะละมังให้พอประมาณ




7. นำตัวเรือมาทดลอง

วิธีการเล่น
- หมุนการ์ดให้พอตามความต้องการของเรา แล้วก็ปล่อยตัวเรือไปข้างหน้า

ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์

- พลังงานศักย์ยืดหยุ่น เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสปิงหรือวัตถุยืดหยุ่นอื่นๆ ขณะที่วัตถุยืดตัวหมุน โดยตัวเรือและการ์ดจะทำปฎิกิริยากับน้ำแล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

skills
- การใช้ความคิด คิดตามเพื่อให้เห็นภาพงานวิจัยที่เพื่อนพูด
- การใช้คำถามเพื่อที่เราจะได้เข้าใจในวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ
- การนำเสนอสื่อด้วยคำพูดและวิธีการที่หลากหลายที่จะสื่อออกมาให้ฟังได้อย่างเข้าใจ

Appiy

                     - สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำมาเสนอไปใช้ในการสอนเด็ก
                          -เกี่ยวกับทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ในอนาคตได้
                                               - สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่เราทำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยต่างๆทางวิทยาศาสตร์

Teaching Techniques


- ให้นักศึกษามีความคิดที่หลากหลาย คิดนอกกรอบ

- รู้จักการนำเสนอสื่อของเล่นให้น่าสนใจเเละน่าเรียนรู้

- การใช้คำถามเพื่อโยงเข้าสู่หลกวิทยาศาสตร์


-ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน



Assessment 
  Self   -  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีความรับผิดชอบ
Friends  - แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนสาย ร่วมกันสังเคราะห์ - วิเคราะห์ สื่อ/ของเล่นที่เกี่ยวกับ                       วิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆนำมานำเสนอทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

Teacher - แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนคอยเพิ่มเติมเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ระหว่างนำเสนอ


วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 15 กันยายน 2558

      Knowledge

- ทดสอบก่อนเรียน เรื่องการทำงานของสมอง







-การนำเสนอบทความ

- แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

=> นางสาวสุจิตรา มาวงษ์ เลขที่24  เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล


        แนวทางในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมี 5 ข้อดังนี้

               1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง 
               2. ออกไปหาคำตอบด้วยตัวเอง 


               3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามในขั้นนี้คุณครูอาจช่วย


                    เสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล

               4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ


               5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 

=> นางสาวประภัสสร สีหบุตร เลขที่23 เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย 
 นิทานเป็นสื่อที่ดีในการใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่ายส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไปแต่ที่ จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไปเด็ก ๆ 





หลักการ/ แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก






ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

-ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก


-พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

-เสริมสร้างประสบการณ์



         ประโยชน์ของการเรียนวิทยาศาสตร์



-พัฒนาความคิดรวบยอด


-พัฒนาทีกษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์


-สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง





Skills

      1.ฝึกระดมความคิดการตอบคำถามและการเสนอความคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง


      2.การคิดวิเคราะห์  การสังเคราะห์



      3.การนำเสนอบทความต่างๆ



Teaching Methods

-อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและอธิบายเพิ่มเติมจากการประดิษฐ์กระดาษของนักศึกษาและการทำMy mapping


Assessment

classroom - อากาศถ่ายเทสะดวก บรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย จำนวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา เทคโนโลยียังไม่พร้อมต่อการใช้งาน เพราะไม่สามารถใช้Internet ได้ เนื่องจากเป็นวันแรกในการเข้าใช้ห้องเรียน
Self -  การตอบคำถาม การระดมความคิด และมีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอน
Friend - เข้าเรียนตรงเวลา มีการแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและช่วยกันตอบ                     คำถาม
Professor - อาจารย์มีความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม มีการใช้คำถามที่หลากหลายในการถามนักศึกษา อาจารย์เพิ่มเติ่มจากคำตอบที่นักศึกษาได้ตอบไป





***หมายเหตุ ศึกษาจาก นางสาวชนาภา คะปัญญา ***

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



วันอังคารที่ 8 กันยายน 2558

หลักในการเลือกเรื่อง

   -หัวข้อที่จะเลือกจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กนั้น  มีหลักในการเลือกใช้ดังนี้

1.เลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
2.เลือกสิ่งที่เด็กสนใจ
3.เลือกสิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
-เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก คือ สถานการณ์หรือสิ่งของที่เด็กพบ หรือสัมผัสเป็นประจำหรือการดำรงชีวิตประจำวัน
-เรื่องที่เด็กสนใจ คือ ความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลองเพื่อหาคำตอบ
-เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก คือ สิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา



เรือกระดาษ




ชื่อ เรือกระดาษ
พับกระดาษเป็นรูปคล้ายเรือ 

วิธีการเล่น
ให้เด็กๆ นำเรือกระดาษไปทดลองเล่นดู

แนวคิด
การที่วัตถุจะเครื่องที่ไปข้างหน้าได้จะต้องให้เเรงขับ โดยแรงที่ได้ คือ แรงลม แรงดันน้ำ เป็นตัน

เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  
1.การลอยตัวในน้ำ
2.การทรงตัว
3.ทิศทางของน้ำ

Skill
- การวิเคราะห์ 
- การออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยตนเองจากกระดาษเปล่า 


Apply
-นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอนและการเขียนแผนและนำไปพัฒนาด้านสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น

Teaching  Techniques
-การให้ออกแบบการสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษหนึ่งแผ่นที่จะสามารถส่งเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง
-การอธิบาย ยกตัวอย่าง
Evaluation

Teacher  -เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำได้อย่างละเอียดครบถ้วน
                   แต่
Friends - การแต่งกายกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน