วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

นำเสนอบทความ

    นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not )  สสวท

           การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวการตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป

    นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์  เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science for Young Children)    ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


             เด็กเล็ก มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

     นางสาวชะนาภา คะปัญญา เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

(Early Childhood Learning Management Sciences)   โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 



มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 


การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)

- โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
- ใช้การต้งคำถาม
- การทดลอง
- การสงเกตและการหาข้อสรุป

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้

-สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
- สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
- ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
- ส่งเสริมกระบวนการคิด 
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
- ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การสร้างความตระหนัก

- เราต้องการค้นหาอะไร 
- เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
- เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
 - สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

    นางสาวชนากานต์ แสนสุข  เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ 

(Teaching Children about weather)   

ผู้เขียน:ผศ. บุบผา เรืองรอง 


             จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่งเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

  • นำเสนอวิจัย
   นางสาวประภัสสร คำบอนิทักษ์ เรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของ

เด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

 (บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ)




ตัวอย่างแผน







   นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (ปริญญานิพนธ์ ของ สุมาลี หมวดไธสง)

   

ตัวอย่างแผน




 ตัวอย่างภาพกิจกรรม






นำเสนอโทรทัศน์ครู

   นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

         (เรื่อง ไข่)ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง

         (เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


Skill
- การวิเคราะห์
- การฟัง
- การตอบคำถาม
- การระดมความคิด
- การสรุป

Apply

- สามารถนำทักษะที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เช่น การทดลองเรื่องไข่และน้ำมันพืชและยังมีทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยที่ควรจะส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถามส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการคิดส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ  เป็นต้น

Teaching  Techniques

- การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
- การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation

Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends : แต่งกายเรียบร้อย มีการนำเสนอบทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู ได้เข้าใจ แต่ก็มีบางคน                              อธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เตรียมความพร้อมมาไม่ค่อยดี
Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน


*** หมายเหตุ ศึกษามาจาก   กมลรัตน์ มาลัย ***


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558


Knowledge 

ขนมโค 

นวดแป้งใส่สีตามต้องการ หลังจากนั้นใส่ไส้ เอาลงหม้อรอจนกว่าจะลอยขึ้นแล้วนำไปคลุกมะพร้าว

การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้แป้งกินได้

การตั้งสมมติฐาน
-เมื่อนำขนมโคไปต้มแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

 การรวบรวมข้อมูล
-สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ สี ขนาด รูปทรงต่างๆ ของขนมโค

สรุปผล
-เด็กได้รู้ว่าขนมโคสุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการต้มถึงจะได้เป็นสีที่น่าทาน แล้วนำขนมโคที่ได้ไปคลุกมะพร้าว









หวานเย็น  

         จัดแบบเป็นกลุ่ม ผสมน้ำหวาน เอาน้ำแข็งใส่กะละมัง ใส่เกลือ ข้นจนกว่าน้ำแดงจะกลายเป็นน้ำแข็งเกล็ด

การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็นได้

การตั้งสมมติฐาน
-
 ถ้าครูเอาน้ำหวานใส่ลงไปในกะละมังที่มีน้ำแข็งและเกลือ มันจะเกิดอะไรขึ้น

 การรวบรวมข้อมูล
-
เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำหวานที่เกิดขึ้น

สรุปผล
-
เด็กๆ ได้รู้ว่าเมื่อน้ำหวานโดนความเย็น ทำให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็น







ข้าวจี่  
       ปั้นข้าวเหนียวเป็นรูปทรงต่างๆตามที่ต้องการและใส่ใส้ตามต้องการ หลังจากนั้นนำไปปิ้งให้ข้าวแข็งเริ่มเปลี่ยนสี แล้วทาไข่  


การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้ไข่สุก หรือ ทำอย่างไรไข่ถึงจะกินได้

การตั้งสมมติฐาน
-
 เมื่อข้าวชุบไข่โดนความร้อนของเตาจะเป็นอย่างไร?

 การรวบรวมข้อมูล
-
เมื่อทำเสร็จเเล้วก็เอาของเด็กเเต่ละคนมาวางเรียงกันเราก็จะรู้ว่าเเต่ละจานนั้นมีสีที่ต่างกันขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเอาข้าวจี่ปิ้งในเตานานเเค่ไหนถ้าปล่อยไว้นานสีก็จะเหลืองเข้มๆถ้าปล่อยไว้ไม่นานสีก็จะเหลืองอ่อน

สรุปผล
-
ข้าวจี่ชุปไข่สุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการปิ้งถึงจะได้กินเป็นสีที่น่าทาน















นำเสนอโทรทัศน์ครู


                เลขที่ 7  นางสาวกมลรัตน์  มาลัย   เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร ?


        สรุปได้ว่า ครูสร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำเด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ เด็กก็จะออกแบบวาดภาพเรือ แล้วก็จะปั้นตามที่ออกแบบ

        พอทดลองปรากฎว่าเรือลอยน้ำได้ แล้วเด็กก้จะนำเสนอผลงานว่ากลุ่มปั้นอะไร ลอยได้หรือไม่ แล้วให้เทคนิคกับเพื่อนว่าทำอย่างไรดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้ และแก้ปัญหาโดยการปั้นขอบให้สูงขึ้นดินน้ำมันก้จะลอยน้ำได้จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเองซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็กและยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง




Skills 


- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ


Apply

               นำวิธีการทำcooking ไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานและการทำเป็นกลุ่ม รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและได้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Teaching  Techniques
-การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
-การอธิบาย ยกตัวอย่าง
-การสังเคราะห์-วิเคราะห์
-การลงมือปฏิบัติ
-วิเคราะห์แผนการสอน


Evaluation

Teacher  :: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจได้ง่าย
Friends  :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน ต้้งใจเรียน









วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13


วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558

Knowledge 


ทำวาฟเฟิล (Waffle)


วิธีทำ / How To

1.นำไข่ไก่ น้ำและแป้งใส่ภาชนะมาผสมแล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2.หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเนยและร้อนดีแล้วจนเต็มพิมพ์
3.อบประมาณ 3-4 นาที เพียงเท่านี้ก็จะได้วาฟเฟิลแล้ว
4.ตกแต่งได้ตามใจชอบ
ทำทาโกะยากิ (Takoyaki )โดยทาโกะยากิได้ดัดแปลงจากแป้งเป็นข้าว ไส้ปูอัดและผัก โรยหน้าด้วยสาหร่าย การนำทาโกยากิไปใส่เตาได้เรียนรู้วิธีการพลิกทาโกยากิ ควรจะพลิกอย่างไรจึงจะได้ทาโกยากิในรูปร่างที่สวยงาม

การทำ cooking ได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การจำแนก การวัด เวลา สื่อความหมายและยังได้ทักษะการแก้ปัญหา























Skill
- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ


Apply

         นำวิธีการทำcooking เรื่องวาฟเฟิลไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อน ให้เด็กได้รู้จักวิธีการวาฟเฟิลที่ถูกต้อง และการทำเป็นฐานๆ รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและไห้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Teaching Techniques 
1.ระดมความคิดจากเพื่อนในห้อง
2.ใช้คำถาม
3.การวัด
4.การวิเคราะห์ -สังเคราะห์
5.วิเคราะห์แผนการสอน
6.ใช้มายแม็ปปิ้ง



Evaluation

Teacher  - เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน








บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2558

Knowledge 

 ตรวจแผนของกลุ่มตามหน่วย ดังนี้

1. หน่วยยานพาหนะ
2. หน่วยร่างกายของฉัน
3. หน่วยชุมชนของฉัน
4.หน่วยต้นไม้แสนรัก
5. หน่วยน้ำ


ทักษะทางวิทยาศาสตร์
-สังเกต
-จำแนก
-วัด
-สื่อความหมาย
-ลงความเห็น
-มิติสัมพันธ์
-คำนวณ

Skill
-การวิเคราะห์ สังเคราะห์
-การระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


Apply

1. สามารถนำการเขียนมายแม๊ปปิ้งที่ถูกต้องนำไปใช้ในการวางแผนการเขียนแผน หรือจดบันทึก

2.นำตัวอย่างการเขียนแผนการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง หรือนำสิ่งที่ดีมาปรับใช้พอเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอนเด็กปฐมวัย

Teaching Techniques 

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การสังเคราะห์-วิเคราะห์
4. การวัด
5. วิเคราะห์แผนการสอน
6. ใช้กราฟฟิค / มายแม๊ปปิ้ง

Evaluation

Teacher  - เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends -แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  -เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2558

Knowledge 


กิจกรรมที่ 1    
     ดอกไม้ พับกระดาษแล้วตัดให้เป็น 4 กลีบ หลังจากนั้นนำลงน้ำพร้อมกันกับเพื่อนในกลุ่มแล้วสังกตว่าของใครจะจมน้ำก่อน เพราะอะไร และมีลักษณะดอกเป็นอย่างไร โดยมีหนึ่งคนคอยจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองหลังจากนำดอกไม้ลอยน้ำแล้ว ปรากฏว่าเพื่อนที่ทำดอกไม้กลีบใหญ่เมื่อวางลงบนน้ำจะบานก่อนดอกไม้ของเพื่อนคนอื่นและเมื่อลอยนานๆสีที่ดอกไม้ก็จะค่อยๆละลายไปกับน้ำ



กิจกรรมที่ 2  
ทดลองโดยใช้ขวดน้ำอัดลม เจาะรู 3 รู  เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วให้สังกตว่า รูไหนน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลสุด
           สรุปว่าหลังจากเติมน้ำเสร็จแล้ว รูที่อยู่ตรงกลางน้ำจะพุ่งออกมาได้ไกลที่สุด เพราะว่ามีแรงดันมากกว่ารูอื่น




















กิจกรรมที่ 3 
        ลูกยางกระดาษ  ใช้กระดาษคริปหนีบกระดาษตัดกระดาษเป็นสองแฉกพับฐานข้างล่างใช้คริปหนีบกระดาษหนีบตรงฐานแล้วทดลองโยนถ้าเราทำปีกตรงลูกยางกระดาษจะหมุนได้ดีแต่ถ้าทำปีกโค้งปีกของลูกยางจะไม่หมุน









 กิจกรรมที่ 4 
            ไหมพรมเต้นระบำ  ทดลองโดยใช้หลอดไหมพรม ตัดหลอดครึ่งหนึ่งแลวร้อยไหมพรม หลังจากนั้นเป่าไหมพรมสุดแรงก็จะเคลื่อนที่ และยิ่งเป่าแรงเท่าไรไหมพรมก็จะเต้นแรงเท่านั้น





กิจกรรมที่ 5  
          เทียนไข  ใช้แก้ว เทียนไข ถ้วย ไม้ขีด ทดลองโดยจุดเทียน  เทียนไขเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟจะค่อยหรี่ลงๆจนในที่สุดเทียนไขจะดับก็เพราะในอากาศมีออกซิเจนอยู่ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนไขจะสามารถ ส่องสว่างต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่งจนเมื่อออกซิเจนถูกเผาไหม้หมดเทียนไข ก็จะดับลงทันที

       ครั้งที่สองจุดเทียนแล้วเทน้ำรอบๆเทียน หลังจากนั้นนำแก้วไปครอบ แล้วสังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ปรากฏว่าเทียนก็จะค่อยๆดับแล้วน้ำก็จะเข้าไปในแก้ว เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ)จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้วความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่า


Skills 

1. ทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์
2. คิด-วิเคราะห์ สังเคราะห์ในการเขียนสาระการเรียนรู้ และการทำ Cooking
3. ระดมความคิดการเขียนแผนการสอนการทดลอง และ การทำ Cooking
4. ทักษะการสังเกต
5 ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่ม



Apply

1. สามารถนำการทดลอง หรือ ของเล่นวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้และนำมาสอนเด็กในชีวิตประจำวันได้


Teaching Techniques 

1. ใช้คำถาม
2. ระดมความคิดกับเพื่อนในห้องเรียน
3. การวิเคาระห์ - สังเคราะห์
4. การยกตัวอย่างกิจกรรม
5. วิเคราะห์แผนการสอน


Evaluation

Teacher  :: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจได้ง่าย
Friends  :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน ต้้งใจเรียน