วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2558

Knowledge

การศึกษานอกสถานที่

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

(National Science and Technology Fair 2558)

จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์  เสริมสร้างชาติด้วยเทคโลยี  

สู่วิถีแห่งวัฒนธรรม

ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี





หยุดไม่อยู่ (Unstopable)

       ทำไมกำหมุนจึงหมุนอย่างต่อเนื่อง (What makes the rotator spin continuously)เมื่อเราดึงเชือกที่ยึดกับแกนกลางใบพัดจะทำให้ใบพัดหมุนเมื่อปล่อยมือใบพัดจะหมุนอย่างต่อเนื่องเพราะความเฉื่อยเมื่อดึงแล้วผ่อนเป็นจังหวะใบพัดจะเคลื่อนที่ต่อเนื่องตลอดเวลาซึ่งเกิดจากพลังงานความเฉื่อย นั้นคือการที่วัตถุรักษาสภาพการหมุนอย่างต่อเนื่องหลักการของกำหมุนนี้ใช้หลักการเดียวกับการปั่นจักรยานแล้วปล่อยให้ล้อหมุนโดยไม่ต้องถีบ แต่จักรยานก็จะเคลื่อนที่ต่อไปได้สักพักหนึ่งโดยไม่ต้องถีบ



ทำไมลูกข่างจึงหยุดหมุน

          (Why Does A Spinning Top Stop?) การที่ลูกข่างหยุดหมุนเกิดจากแรงต้านอากาศในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุน แรงเสียดทานของพื้นกับปลายลูกข่าง และแรงดึงดูดของโลก 3 แรงนี่ทำให้ลูกข่างหมุนช้าลงจนหยุดหมุนในที่สุด



บิดาวิทยาศาสตร์ไทย

พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาราศาสตร์ทรงมีความเชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้เทียบเท่ากับนักดาราศาสตร์สากล และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทำไมเรายิ่งใช้โลกยิ่งร้อน
ภาวะโลกร้อนเกิดจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยฝีมือของมนุษย์อันดับ 1 มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอย่างมหาศาลและการตัดไม้ทำลายป่าปัจจุบันโลกมีประชากรประมาณ 7 พันล้านคนในปีพ.ศ.2573 จะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 8-9 พันล้านคนซึ่งหมายความว่าหากมนุษย์ยังใช้พลังงานกันอย่างฟุ่มเฟือยวิกฤตโลกร้อนจะเกิดเร็วและรุนแรงขึ้นเรื่อยปรากฏการณ์เรือนกระจก ถ้าเปรียบโลกเป็นบ้านหลังหนึ่งชั้นบรรยากาศของโลกจะเปรียบได้กับกระจกใสที่เข้าบ้านไว้ตลอดทั้งวันแสงอาทิตย์จะส่องผ่านกระจกใสลงมาถึงพื้นบ้านและสะท้อนกลับออกไปผ่านกระจกใสแต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปการ์ดจะลอยขวางทางทำให้แสงอาทิตย์สะท้อนกลับออกไปไม่ได้ความร้อนที่จะสะสมในบ้านก็จะเพิ่มขึ้นจนนำมาสู่ภาวะโลกร้อน พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศปรากฏการณ์เรือนกระจกทำให้อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้นต้นทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงฤดูกาลจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเช่นร้อนจัดหนาวจัดหรือเกิดภัยธรรมชาติ ได้บ่อยและรุนแรงมากเช่นพายุหมุนรุนแรงน้ำท่วมรุนแรงและคลื่นความร้อนสุดขีด เกิดภาวะทะเลเป็นกรดเกิดโรคระบาดใหม่ๆเนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพาหะนำโรคเช่นยูงแมลงวันหรือแบคทีเรียอื่นหรือการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์อีกนับล้านชนิด ภาวะโลกร้อนส่งผลให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นปีละประมาณ 1 องศาเซลเซียสและในช่วงทศวรรษที่ 21 อสูรได้มากถึง 10 องศาเซลเซียสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลรุนแรงทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วกว่าปกติและเมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อยๆที่สุดมีขั้วโลกที่น่าสงสารก็จะจมน้ำตายทุกปีเราจะต้องสูญเสียมีขั้วโลกไปเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

รู้หรือไม่เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานศักย์ไฟฟ้าผิดมาจากก๊าซธรรมชาติและเชื้อเพลิงปิโตรเลียมขับรถด้วยความเร็วเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและบันทึกของไม่จำเป็นทำให้รถยนต์ต้องใช้เชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้นจุดไฟเผาขยะหรือหญ้าแห้งไม่ถูกวิธีจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ


รู้สักนิดคิดก่อนใช้เพื่อโลกเพื่อเรา
การลดการใช้หมายถึงการลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะหรือสิ่งเหลือใช้ให้น้อยลงเพราะการลดการใช้เท่ากับการลดกำลังการผลิตและลดการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นด้วยเช่นใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าที่ใส่ของได้ทีละเยอะๆโดยไม่ต้องแบ่งใส่ถุงใหญ่ๆใช้ปิ่นโตแทนการใช้กล่องโฟม
การใช้ซ้ำหมายถึงการนำกลับมาใช้ซ้ำโดยไม่ต้องผ่านโรงงานผลิตอีกเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเช่นการใช้กระดาษทั้งสองหน้าการดัดแปลงเสื้อผ้าตัวเก่าให้กลับมาใช้งานได้อีกใช้ขวดน้ำเดิมเติมน้ำดื่ม
การแปรรูปใช้ใหม่หมายถึงการนำขยะหรือของที่ใช้แล้วทิ้งมาหมุนเวียนเพื่อนำกลับมาใช้อีกเช่นการนำขวดแก้วขวดพลาสติกและกระป๋องมาหลอมเพื่อผลิตใหม่การหลอมเศษเหล็กหรือทองแดงเป็นวัสดุใหม่
การนำกลับคืนวัสดุ หมายถึงการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปมาผ่านกระบวนการฟื้นตัวเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อเช่นนำขยะมูลฝอยมาเป็นเชื้อเพลิงการนำขยะเปียกในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักการหมักก๊าซจากขยะอินทรีย์

รู้จักใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1. เลือกใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
2. เปลี่ยนหลอดไฟมาใช้หลอดตะเกียบแบบประหยัดพลังงานแทนหลอดไส้ทั่วไป
3. เลือกเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับยานพาหนะ
4. ลดความร้อนภายในอาคารด้วยการปลูกต้นไม้

รู้หรือไม่เรามีสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้พลังงานเราทุกคนเป็นเจ้าของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในประเทศซึ่งมีสิทธิเข้าถึงข้อมูล ด้านพลังงานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องเรามีสิทธิใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบ ในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมและเสมอภาคเรามีหน้าที่รู้จักและเลือกพลังงานชนิดต่างๆให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและลดผลกระทบต่อโลกในอนาคต

ทำไมต้องมีพลังงานทางเลือก

1. ประชากรโลกเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น
2.เชื่อเพลิงปิโตรเลียมแต่กำลังจะหมดไป เชื่อเพลิงที่เราใช้ในปัจจุบันนับวันมีแต่จะลดน้อยลงและหาได้ยากขึ้น
3. การพึ่งพาพลังงานชนิดหนึ่งมากเกินไปทำให้มีความเสี่ยงต่อวิกฤติขาดแคลน
4.โลกกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เรือนกระจกและภาวะโลกร้อนจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงปิโตรเลียม
5. เราต้องการให้โลกมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน
พลังงานทางเลือกคือพลังงานที่ใช้ทดแทนปิโตรเลียมที่กำลังจะขาดแคลนในอนาคตอธิฐานหิน หินน้ำมันทรายน้ำมันพลังงานหมุนเวียนพลังงานนิวเคลียร์เป็นต้น
รู้หรือไม่ก๊าซธรรมชาติเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการเป็นแหล่งพลังงานการเลือกซึ่งในอดีตเป็นส่วน เกินใน กระบวนการขุดเจาะน้ำมันดิบทุกวันนี้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีความต้องการไม่น้อยกว่าน้ำมันดิบ แต่ก็ยังเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้โปรแล้วหมดไป
พลังงานหมุนเวียนคือพลังงานที่ใช้แล้วสามารถสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้หมุนเวียนมาใช้ได้อีกเป็นพลังงานที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นพลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์ลมน้ำจากเขื่อนน้ำขึ้นน้ำลงพื้นทะเลความร้อนใต้พิภพชีวมวล อิทธิพลของเหลือทางการเกษตรพืชน้ำมันและมูลสัตว์และก๊าซชีวภาพสามารถนำไปใช้ในการหุงต้มให้แสงสว่างและผลิตกระแสไฟฟ้า พลังงานน้ำมนุษย์นำหลักการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำมาผลิตกระแสไฟฟ้าโดยกักเก็บน้ำในเขื่อนเพื่อเพิ่มแรงดันจากนั้นจึงปล่อยให้น้ำไหลผ่านกังหันที่อยู่ระดับต่ำกว่าเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นขุมพลังงานใหญ่ที่สุดมนุษย์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรงเช่นการตากแห้งอบความร้อนสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเซลล์สุริยะหรือโซล่าเซลล์ พลังงานลมเป็นอีกครั้งงานทดแทนที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณกังหันลมเป็นตัวอย่างของผู้มีปัญญาเก่าแก่ในการนำพลังงานลมมาใช้ประโยชน์โดยเป็นอุปกรณ์ เพื่อสูบน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่เกิดมลพิษและยังสามารถติดตั้งกับเครื่องยนต์หรือเซลล์สุริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เรียกว่าระบบผสมผสาน

พลังงานขยะขยะแปลสภาพเป็นพลังงานได้ทั้งขยะอินทรีย์เช่นเศษอาหารโดยหมักให้เกิดเป็นก๊าซชีวภาพและขยะที่เผาไม่ได้นำมาเผาเป็นเชื้อเพลิงขยะการนำขยะมาใช้เป็นพลังงานจะช่วยให้ขยะไม่ล้นโลกและยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วยรู้หรือไม่พลังงานหมุนเวียนเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือมาจากวัสดุธรรมชาติรอบตัวเราเช่นความร้อนรังสีจากแสงอาทิตย์แรงลมพัดกระแสน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำความร้อนใต้ผิวโลกคลื่นน้ำในทะเลเชื่อเพลิงจากเศษซากพืชนำมาเผาไหม้ให้ความร้อนเป็นต้นโดยมนุษย์ใช้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อเปลี่ยนพลังงานจากธรรมชาติเป็นพลังงานที่มนุษย์ต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน

ไบโอดีเซลคือเชื้อเพลิงที่ได้จากไขมันพืชหรือสัตว์ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีต้นมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมันที่ได้จากพืชเช่นเมล็ดทานตะวันงามไส้ถั่วลิสงถั่วเหลืองและหงส์สบู่ดำมะพร้าวปาล์มและนอกจากนี้ยังสามารถนำ น้ำมันพืชที่เหลือใช้จากการประกอบอาหารมาผลิตไบโอดีเซลได้อีกด้วยชีวมวลคือสารอินทรีย์ที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้เช่นเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอยากฟังข้าวเศษไม้ทะลายปาล์มเปลือกมันสำปะหลังชานอ้อยซังข้าวโพดแกลบเป็นต้นโดยอาจให้เป็นก้อนเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ได้ก๊าซชีวภาพส่วนประกอบหลักเป็นการ์ด me tell เปิดมาจากการหมักของเสียจากโรงงานหรือมูลสัตว์เช่นหมูวัวควายเป็นต้นจนเกิดเป็นการออกมาโดยสามารถนำก๊าซมีเทนไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทำอาหารหรือในกระบวนการอื่นที่ต้องการให้ความร้อน เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เช่นเดียวกับก๊าซ ngv นั้นเองแต่ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก่อนประโยชน์ของเชื้อเพลิงชีวภาพลดการใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพบางประเภทช่วยให้เครื่องยนต์ เขาไม่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมราคาพืชผลทางการเกษตรดีขึ้นเกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นเป็นพลังงานสะอาดช่วยรักษาสภาพแวดล้อม

น้ำมันดิบคือน้ำมันดิบคือปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลวส่วนมากมีสีดำหรือสีน้ำตาลจัด ขัด 1 เป็นเชื้อเพลิงที่ นิยมใช้มากที่สุดในโลกการกลั่นน้ำมันดิบในน้ำมันดิบมีน้ำมันหลายชนิดผสมกันอยู่มีวิธีการแยกน้ำมันต่างๆออกจากกันทำได้โดยการเพิ่มความร้อนให้อุณหภูมิสูงขึ้นน้ำมันแต่ละชนิดมีจุดเดือดไม่เท่ากันจะระเหยเป็นไอและแยกตัวออกจากน้ำมันดิบวิธีการนี้เรียกว่าการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันชนิดหนึ่งหนักหรือเบาน้ำมันเครื่องบินน้ำมันก๊าดน้ำมันดีเซล 56% น้ำมันชนิดเบาก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม แนฟกา นำไปผลิตเป็นน้ำมันเบนซีน 33 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันชนิดหนักน้ำมัน เต่ายางมะตอย 11

ปิโตรเลียมคือปิโตรเลียมคือเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงหลักในปัจจุบันมีโครงสร้างเคมีซับซ้อนประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นหลักเกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมอยู่ใต้ผิวเปลือกโลกและใช้พลังงานความร้อนมีทั้ง 3 สถานนะคือของแข็งของเหลวและก๊าซ กำเนิดปิโตรเลียมปิโตรเลียมเกิดจากหินต้นกำเนิดซึ่งเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ได้รับความร้อนและความกดดันจนเปลี่ยนสภาพทางเคมี เครื่องผ่านชั้นหินที่มีรูพรุนไปยังเรากักเก็บโดยถูกชั้นหินที่เนื้อละเอียดกว่าปิดกั้นไม่ให้ไหลออกมา

ตามหาปิโตรเลียมเริ่มจากการสำรวจทางธรณีวิทยา ทั้งบนบกและในทะเลเพื่อประเมินโครงสร้างชั้นหินเมื่อพบความเป็นไปได้จะสำรวจโดยละเอียดอีกครั้งว่ามีปิโตรเลียมจริงหรือไม่ที่จะสำรวจเมื่อพบแหล่งปิโตรเลียมจะมีการขุดเจาะเพื่อค้นหา เบื้องต้นว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใดและคุ้มค่าต่อการนำขึ้นมาใช้หรือไม่การขนส่งลำเลียงปิโตรเลียมที่ขุดเจาะขึ้นมาจะต้องส่งไปกลั่นหรือแยกสุขภัณฑ์ที่ต้องการโดยใช้รถบรรทุกเรือหรือรถไฟบรรจุการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อส่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด พิพิธภัณฑ์เมื่อผ่านการกลั่นหรือแยกการ์ดแล้วจะได้เป็นน้ำมันชนิดต่างๆเช่นน้ำมันเบนซินน้ำมันดีเซลน้ำมันก๊าดน้ำมันเตายางมะตอยก๊าซหุงต้มและผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นต้น

ก๊าซธรรมชาติคือก๊าซธรรมชาติคือปิโตรเลียมที่ขุดจะขึ้นมาแล้วอยู่ในสถานะก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเสท อากาศที่แปรสภาพเป็นของเหลวเมื่อถูกขุดขึ้น มากับธรรมชาติจะต้องผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงแยกก๊าซก่อนนำไปใช้ประโยชน์ในภาคต่างๆคุณสมบัติเด่นของก๊าซธรรมชาติ 1 ไม่มีสีไม่มีกลิ่นเบากว่าอากาศ 2 เมื่อรู้ว่าจะลอยขึ้นสูงพุ่งกระจายในอากาศอย่างรวดเร็ว 3 เป็นเชื้อเพลิงสะอาดเผาไหม้สมบูรณ์ลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าการผลิตไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตสามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงหากผ่านกระบวนการแยกก๊าซจะนะนิยมใช้ก๊าซมีเทนเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าอุตสาหกรรม 1 card มีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันเตาน้ำมันดีเซลก๊าซมีเทนใช้เป็นวัสดุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมีขั้นต้นผลิตเม็ดพลาสติกเส้นใยพลาสติกและสิ่งของเครื่องใช้มากมายการ์ดโทรแคนใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นผลิตเม็ดพลาสติกกาว สาร เพิ่มคุณภาพน้ำมันง 4 ก๊าซโซลีนธรรมชาติเป็นส่วนผสมในน้ำมันสำเร็จรูปและตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี 5 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นน้ำแข็งแห้งใช้ถนอมอาหารภาคครัวเรือนการ์ดโทรแพนและก๊าซบิวเทนนำมาผสมกันแดดใส่ถัง ได้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้ม lpg ภาคการขนส่งก๊าซมีเทนนำไปอัดลงใส่ความดันสูงใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์หรือรู้จักกันในชื่อ ngv

มุมพาเพลินลูกข่างหมุนได้อย่างไร ฝันลูกค้าด้วยมือถือใช้เชือกเลี้ยงลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็กตัวลูกค้าซึ่งมีน้ำหนักมากทำให้มีความเฉื่อยจึงหมุนได้นานและขณะฝนเกิดในที่ตั้งฉากกับทิศทางการหมุนจึงทำให้ลูกค้าส่งตัวอยู่ได้

ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับเช่น 1 การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของตนเช่นการวาดภาพ 2 การผลิตและสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่กำหนดให้เส้นให้ทำกระเป๋าจากเศษกระดาษทำกรองนอกจากทวารการคิดเมนูอาหารใหม่ๆ 3 การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบและมีการทดลองเช่นเครื่องซักผ้าเครื่องดูดฝุ่นตามไมโครเวฟรถยนต์การสร้างศาลหลักการแนวคิดใหม่ๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้าน ต่างๆต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้นระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ

ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำเช่นการเล่นของเล่นสามารถสร้างจินตนาการให้กับเด็ก

เครื่องมือเครื่องมือที่ใช้ในการทำของเล่นส่วนใหญ่ก็คือเครื่องมือหัตถกรรมแอนมิตรชัยต่างๆเลือดและเหล็กแหลมที่จะช่วยคุณได้ในการทำของเล่นซึ่งต้องอาศัยฝีมืทรัพยากรในการทำของเล่นส่วนมากจะเป็นวัสดุรอบตัวที่สามารถหาได้ในการบริเวณท้องถิ่นมาผสมผสานกับจินตนาการพิมพ์ออกมาเป็นของเล่นผลผลิตจากมะพร้าวแช่น้ำมะพร้าวใบมะพร้าวกาบมะพร้าวและกะลามะพร้าวนำมาทำเดินกะลามะพร้าวเป็นต้นอความประณีตและจินตนาการในการสร้างสรรค์ของเล่นภูมิปัญญาไทย

ไม้ไม้มะค่าประดู่ไม้แดงไม้ชิงชันไม้มะพร้าวและไม้มะม่วงนำมาแกะเป็นรูปสัตว์หรือนำมาแกะเป็นรูปถ่ายเป็นต้น

ไม้ไผ่เช่นไม้ ไผ่สีสุกไผ่สานไม้ไผ่บงนำมาทำไม้โถกเถก เข้าเป็นต้น
เข้าเป็นต้นผลผลิตจากต้นกล้วยต้นกล้วยใบกล้วยทางกล้วยและเชือกกล้วยนำมาทำมาการกล้วยปืนก้านกล้วยเป็นต้น

เมล็ดของต้นไม้ในท้องถิ่นเช่นลูกสะบ้าลูกยางลูกยางนาเม็ดมะม่วงกะล่อนและเมล็ดกะหล่ำตาแดงนำมาทำลูกค้าลูกยางนำอายุให้หมุนเป็นเกลียวเป็นต้น

แรงยกจอมพลัง คอปเตอร์ไม้ไผ่และกำมือหมุนบินลอยได้อย่างไรใบพัดของคอปเตอร์ไม้ไผ่และการหมุนบินออกแบบเป็นเกลียวด้านหนึ่งเชิดขึ้นอีกด้านจะช่วยลดลงคล้ายเกลียวเมื่อใบพัดหมุนใบพัดทั้งสองด้าน ดันอากาศลงเกิดแรงยกตัวเมือนกับการยกตัวของใบพัด เฮลิคอปเตอร์เครื่องบิน และเท่าที่ออกแบบให้ปีกเลี้ยง ขึ้นหรือลง 1 ถ้าหมุนกลับทิศ 2 ถ้าเอาใบพัดอยู่ด้านล่าง

ทำไมแค่เพียงจั๊กจั่นจึงเกิดเสียงเสียงของจั๊กจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนปลายแกนไม้ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษแล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงสั่นด้วยความถี่ที่เท่ากันกับการสั่นของเชือกเสียงจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีกระบอก ถ้ากระบอกขนาดต่างกัน

หลักการของเงาและแสงตกกระทบแสงที่ผ่านตัวหนังตะลุงทำให้เกิดเงาบนจอซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลอดไฟเงาที่เห็นจะเปลี่ยนขนาดตำแหน่งตามการเคลื่อนที่ของ ตัวหนังตะลุงเงาที่เป็นสี เกิดเพราะหนังตะลุงที่มีสีซึ่งเป็นวัตถุ ที่โปร่งและ การฉายภาพยนตร์ด้วยฟิล์มก็เป็นเรื่องของแสงและเงา

ของเล่นกับเด็กไทยของเล่นของไทยมีอายุเป็นร้อยปีมีของเล่นหลายชนิดเช่นรูปสัตว์ต่างๆทำจากหินและดินเผาเคลือบน้ำเคลือบเป็นของเล่นในสมัยสุโขทัยสมัยอยุธยามีของเล่นดินเผาที่ไม่มีการเคลือบมีรูปร่างสัตว์ต่างๆและรูปเด็กหญิงชายกำลังอุ้มไก่เล่นต่อมาในสมัยรัชกาลที่5แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของเล่นสำหรับเด็กไทยมีความหลากหลายในวัสดุและรูปแบบของการเล่นเช่นตัวตลกเป็นดินเผาดิบดิบดำดำมีแกนตรงหัวเมื่อตุ๊กตาโดนเขย่าหัวใจสั่นไปมาได้









วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558

นำเสนอบทความ

    นางสาวรัชดา เทพเรียน เรื่อง หลักสูตรปฐมวัยมีความจำเป็นหรือไม่
(Science Preschool is necessary or not )  สสวท

           การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวการตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป

    นางสาวเปมิกา ชุติมาสวรรค์  เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science for Young Children)    ผู้แต่ง ผศ.ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


             เด็กเล็ก มีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

     นางสาวชะนาภา คะปัญญา เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

(Early Childhood Learning Management Sciences)   โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 



มีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้ 

1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 

2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก 

3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ 


การพัฒนาแนวคิด(มโนทัศน์)

- โดยการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
- ใช้การต้งคำถาม
- การทดลอง
- การสงเกตและการหาข้อสรุป

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้

-สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก 
- สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม 
- ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ 
- ส่งเสริมกระบวนการคิด 
- ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ 
- ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
- เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
การสร้างความตระหนัก

- เราต้องการค้นหาอะไร 
- เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้ 
- เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
 - สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

    นางสาวชนากานต์ แสนสุข  เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ 

(Teaching Children about weather)   

ผู้เขียน:ผศ. บุบผา เรืองรอง 


             จัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัย รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและ จำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่งเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด เมื่อเด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย หรือลมที่พัดแรงมากจนเกิดเป็นพายุหมุน ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้าน เรือน ต้นไม้หักโค่น ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

  • นำเสนอวิจัย
   นางสาวประภัสสร คำบอนิทักษ์ เรื่อง  การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของ

เด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

 (บทคัดย่อของ ณัฐชุดา สาครเจริญ)




ตัวอย่างแผน







   นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ

การจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  (ปริญญานิพนธ์ ของ สุมาลี หมวดไธสง)

   

ตัวอย่างแผน




 ตัวอย่างภาพกิจกรรม






นำเสนอโทรทัศน์ครู

   นางสาวกรกช เดชประเสริฐ เรื่อง พัฒนาการสังเกตเป็นพื้นฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์

         (เรื่อง ไข่)ให้เด็กสังเกตไข่ที่ครูเตรียมมา 2 ใบ ถ้าครูโยนไข่ 2 ใบ พร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นกับไข่ 2 ใบนั้น จากนั้นก็ทำการโยนไข่แล้วให้เด็กสังเกต ผลการทดลองพบว่า ไข่ 1 ใบ ไม่แตก เด็กจึงทราบว่า ไข่ใบนั้นเป็นไข่ต้ม นั่นเอง

         (เรื่อง น้ำมัน ) ให้เด็กเอาน้ำมันทาที่กระดาษ ซึ่งมีน้ำมันอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำมันพืช และ น้ำมันหมู จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ ปรากฎว่าน้ำมันหมูทึบแสง  น้ำมันพืชโปร่งเเสง


Skill
- การวิเคราะห์
- การฟัง
- การตอบคำถาม
- การระดมความคิด
- การสรุป

Apply

- สามารถนำทักษะที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย เช่น การทดลองเรื่องไข่และน้ำมันพืชและยังมีทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยที่ควรจะส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถามส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการคิดส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ  เป็นต้น

Teaching  Techniques

- การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
- การอธิบาย ยกตัวอย่าง


Evaluation

Teacher :  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย
Friends : แต่งกายเรียบร้อย มีการนำเสนอบทความ งานวิจัย โทรทัศน์ครู ได้เข้าใจ แต่ก็มีบางคน                              อธิบายไม่ค่อยเข้าใจ เตรียมความพร้อมมาไม่ค่อยดี
Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน


*** หมายเหตุ ศึกษามาจาก   กมลรัตน์ มาลัย ***


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2558


Knowledge 

ขนมโค 

นวดแป้งใส่สีตามต้องการ หลังจากนั้นใส่ไส้ เอาลงหม้อรอจนกว่าจะลอยขึ้นแล้วนำไปคลุกมะพร้าว

การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้แป้งกินได้

การตั้งสมมติฐาน
-เมื่อนำขนมโคไปต้มแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

 การรวบรวมข้อมูล
-สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ สี ขนาด รูปทรงต่างๆ ของขนมโค

สรุปผล
-เด็กได้รู้ว่าขนมโคสุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการต้มถึงจะได้เป็นสีที่น่าทาน แล้วนำขนมโคที่ได้ไปคลุกมะพร้าว









หวานเย็น  

         จัดแบบเป็นกลุ่ม ผสมน้ำหวาน เอาน้ำแข็งใส่กะละมัง ใส่เกลือ ข้นจนกว่าน้ำแดงจะกลายเป็นน้ำแข็งเกล็ด

การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็นได้

การตั้งสมมติฐาน
-
 ถ้าครูเอาน้ำหวานใส่ลงไปในกะละมังที่มีน้ำแข็งและเกลือ มันจะเกิดอะไรขึ้น

 การรวบรวมข้อมูล
-
เด็กๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำหวานที่เกิดขึ้น

สรุปผล
-
เด็กๆ ได้รู้ว่าเมื่อน้ำหวานโดนความเย็น ทำให้น้ำหวานกลายเป็นหวานเย็น







ข้าวจี่  
       ปั้นข้าวเหนียวเป็นรูปทรงต่างๆตามที่ต้องการและใส่ใส้ตามต้องการ หลังจากนั้นนำไปปิ้งให้ข้าวแข็งเริ่มเปลี่ยนสี แล้วทาไข่  


การกำหนดปัญหา
-ทำอย่างไรให้ไข่สุก หรือ ทำอย่างไรไข่ถึงจะกินได้

การตั้งสมมติฐาน
-
 เมื่อข้าวชุบไข่โดนความร้อนของเตาจะเป็นอย่างไร?

 การรวบรวมข้อมูล
-
เมื่อทำเสร็จเเล้วก็เอาของเด็กเเต่ละคนมาวางเรียงกันเราก็จะรู้ว่าเเต่ละจานนั้นมีสีที่ต่างกันขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กเอาข้าวจี่ปิ้งในเตานานเเค่ไหนถ้าปล่อยไว้นานสีก็จะเหลืองเข้มๆถ้าปล่อยไว้ไม่นานสีก็จะเหลืองอ่อน

สรุปผล
-
ข้าวจี่ชุปไข่สุกได้อย่างไรเเละควรใช้เวลาเท่าไหร่ในการปิ้งถึงจะได้กินเป็นสีที่น่าทาน















นำเสนอโทรทัศน์ครู


                เลขที่ 7  นางสาวกมลรัตน์  มาลัย   เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร ?


        สรุปได้ว่า ครูสร้างความสนใจให้กับเด็กโดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียนแล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้ จมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดินน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำปรากฎว่าดินน้ำมันมันจมน้ำเด็กจึงการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะปั้นเป้นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กเคยเห็นเรือลอยน้ำได้ เด็กก็จะออกแบบวาดภาพเรือ แล้วก็จะปั้นตามที่ออกแบบ

        พอทดลองปรากฎว่าเรือลอยน้ำได้ แล้วเด็กก้จะนำเสนอผลงานว่ากลุ่มปั้นอะไร ลอยได้หรือไม่ แล้วให้เทคนิคกับเพื่อนว่าทำอย่างไรดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้ และแก้ปัญหาโดยการปั้นขอบให้สูงขึ้นดินน้ำมันก้จะลอยน้ำได้จากกิจกรรมเด็กจะได้ทักษะ การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงรูปเป็นอะไรถึงลอยน้ำได้ที่สำคัญเด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงทำด้วยตนเองและได้ออกแบบจากการคิดของเด็กเองซึ่งการออกแบบเกิดจากการตั้งสมมติฐานของเด็กความคาดเดาของเด็กและยังได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการสังเกต สื่อความหมาย ตั้งสมมติฐาน ทดลองปฎิบัติจริง ได้ลงความเห็นว่าสิ่งที่ทดลองเป็นจริง




Skills 


- การสังเกต
- การแก้ปัญหา
- การจำแนก
- การสื่อความหมาย
- การลงความเห็น
- มิติสัมพันธ์ (สเปส กับ เวลา)
- การคำนวณ


Apply

               นำวิธีการทำcooking ไปสอนเด็กได้ สามารถบอกเด็กได้ว่าเราควรเริ่มจากขั้นไหนก่อนเเละต่อๆไปเป็นอะไร ให้เด็กได้รู้จักวิธีการทำเป็นฐานและการทำเป็นกลุ่ม รู้จักการทำอย่างเป็นขั้นตอนและได้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

Teaching  Techniques
-การใช้คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
-การอธิบาย ยกตัวอย่าง
-การสังเคราะห์-วิเคราะห์
-การลงมือปฏิบัติ
-วิเคราะห์แผนการสอน


Evaluation

Teacher  :: เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ อธิบายเนื้อหาในการสอนได้ละเอียดเข้าใจได้ง่าย
Friends  :  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
Self  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบนร้อย มีการจดบันทึกในการเรียน ต้้งใจเรียน